ยินดีต้อนรับครับ

ขอแนะนำให้ทุกท่าน สมัครสมาชิก เพื่อป้องกันการแอบอ้างชื่อครับ

Mark Mafia

เรื่องยากันยุงครับสำคัญมาก
  • :001:ขอแบบมีสาระนะครับ กระทู้นี้ขอร้องอย่าแหน็บแนมกันเลยนะครับ...
    เรื่องมันยาวครับ ใครขี้เกียดอ่านผ่านไปได้เลยนะครับ หรือพอมีความรู้อยู่บ้างก็แนะนำแนะแนวทีนะครับผม
  • ผมคาดว่าแทบทุกๆท่านก็มีปัญหาเกี่ยวกับยุงนะครับ... รวมถึงผมด้วยไม่ว่ายุงมันจะกัดคน หรือสัตว์เลี้ยงก็ตาม...
    ที่ผมตั้งกระทู้นี้เพื่อศึกษา และ อยากทราบเกี่ยวกับโทษของยาจุดกันยุงนะครับ...
    เริ่มเลยแล้วกัน ผมพอมีข้อมูลอยู่บ้างครับลองดูๆกันก่อนครับ
    *******
    ******
    ยาบ้าชนิดใหม่ที่ใช้ยากันยุงขดเป็นส่วนผสม
    ตามที่มีข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ โดยข่าวลงวันที่ 04/02/2546 หน้า 1,10,19 โดยมีหัวข้อข่าวคือ "มหันตภัย'ยาตัวใหม่' โจ๋ใต้กำลังฮิต" และหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 03/02/2546 ปีที่ 7 ฉบับที่ 2293 หน้า 1 และ 12 ในหัวข้อ "ยากันยุงปนยาหวัดมหันตภัย'เสพติด'ระบาด ที่นราธิวาสอันตรายตายทันที "โดยกล่าวถึงว่ายาบ้าตัวใหม่ที่เกิดขึ้นนี้เกิดขึ้น จากพ่อค้าคิดสูตรขึ้นใหม่มามอมเมาแทน "โคเดอีน" หลังจากทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา มีมาตรการคุมเข้มยาแก้ไอที่มี "โคเดอีน" เป็นสูตรผสม โดยสูตรยาดังกล่าว ในหนังสือพิมพ์ กล่าวว่าประกอบด้วยยากันยุงขด ผสมกับยาน้ำแก้หวัดที่มียาคอเฟนิลามีน ยากล่อมประสาทประมาณ 5-10 เม็ด น้ำอัดลมขนาด 1 ลิตร เครื่องดื่มชูกำลัง มาผสมเข้าด้วยกันแล้ว ทำให้มึนเมาหนักกว่ายาแก้ไอโคเดอีนนั้น กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา เห็นควรแจงรายละเอียดของข้อเท็จจริง ของตัวยาดังกล่าวข้างต้นดังต่อไปนี้
    โคเดอีน (codeine)
    เป็นอนุพันธ์ของฝิ่น (opium) ที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system, cns) มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาคือออกฤทธิ์ระงับอาการไอ โดยการกดศูนย์การไอ และระงับการไอได้ดีมาก และนอกจากนี้ยังสามารถออกฤทธิ์ระงับปวดในขนาดต่ำถึงปานกลางได้ดีด้วย เมื่อใช้ในขนาดยาที่เหมาะสมหรือตามแพทย์สั่ง แต่เมื่อใช้ในขนาดที่ไม่เหมาะสมหรือใช้ในขนาดที่สูง จะทำให้เกิดอาการเคลิ้มสุข (euphoria)ได้ แต่ถ้าเสพติดต่อกันสักระยะอาจทำให้เกิดการเสพติดได้ แต่ถ้าเสพในขนาดที่สูงมากๆ อาจทำให้กดสูญหายใจทำให้ถึงตายได้เช่นกัน ตามกฎหมายได้จัดยากลุ่มนี้ไว้เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภทที่ 2 ส่วนยาแก้ไอที่มีส่วนผสมของโคเดอีน จัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภทที่ 3 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 (ดูบทกำหนดโทษ)
    คลอเฟนิรามีน
    คลอเฟนนิรามีน จัดอยู่ในกลุ่มของยากลุ่ม antihistamine ที่ใช้เป็นยาแก้หวัด เมื่อรับประทานยาชนิดนี้เข้าไปแล้วจะทำให้เกิดอาการง่วงนอน หรือมึนงงได้ เนื่องจากยาชนิดนี้มีฤทธิ์กดประสาทเช่นกัน ตามกฎหมายจัดยากลุ่มนี้เป็นยาอันตราย
    ยากล่อมประสาท
    ส่วนมากที่ใช้มักเป็นกลุ่ม benzodiazepine เช่น diazepam, alprazolam, nitrazepam, midazolam เป็นต้น ซึ่งยากล่อมประสาทพวกนี้ จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 (ดูบทกำหนดโทษ) วัตถุออกฤทธิ์เหล่านี้ออกฤทธิ์สงบประสาท คลายความวิตกกังวล และในบางครั้งเมื่อใช้ในขนาดยาที่ไม่เหมาะสมหรือใช้ในขนาดที่สูงๆ อาจทำให้เกิดอาการเคลิ้มสุข ง่วงซึม มึนเมา หรืออาจทำให้เห็นภาพหลอนได้
    คาเฟอีน
    โดยทั่วไปเราจะได้ยินชื่อของสารนี้อยู่ในพวกเครื่องดื่มชูกำลัง และน้ำอัดลมต่างๆ รวมทั้งเครื่องดื่มกาแฟต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกาแฟกระป๋อง กาแฟชงสด หรือในผงกาแฟที่ขายทั่วไปตามท้องตลาดก็ตาม แต่ตามกฎหมายได้จัดคาเฟอีนเป็นได้ทั้งอาหารและยา แต่เมื่อเร็วๆ นี้กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา ได้รวบรวมข้อมูลจาก internet และพบว่าในสหรัฐอเมริกา มีข่าวว่ามีการใช้คาเฟอีนในขนาดที่สูงขนาดหนึ่ง แล้วทำให้เกิดอาการเคลิ้มสุข (euphoria) โดยผู้เสพได้เสพกาแฟหรือดื่มน้ำอัดลมแทนเครื่องดื่มปกติที่เป็น soft drink หรือเครื่องดื่มที่ไม่มีอัลกอฮอล์ผสม เมื่อดื่มได้ขนาดหนึ่งมีหลายคนที่พบว่า เมื่อดื่มแล้วจะพบอาการเคลิ้มสุข ตื่นตัวพร้อมที่จะทำงานหนักๆได้ และในบางคนยังพบว่าการรับรู้เปลี่ยนแปลงไป หรือเห็นภาพหลอนด้วย และในบางคนพบว่าเกิดอาการนอนไม่หลับ ปวดศีรษะมาก ใจสั่นจนผู้ดื่มเกรงว่าจะเกิดอาการหัวใจวาย แต่เมื่อตื่นขึ้นมาแล้ว อาการต่างๆ ดังกล่าวก็จะหายไปรวมทั้งอาการเคลิ้มสุขด้วย แต่ในบางคนมีการรับยาอย่างอื่นเพิ่มด้วย โดยไม่ทราบว่ายาดังกล่าวเกิดปฏิกิริยาเสริมฤทธิ์กับคาเฟอีน แล้วทำให้เกิดอันตรายได้ เช่นในบางคนเกิดอาการวิตกกังวล หรือในบางคนเกิดอาการคุ้มคลั่ง (panic attack) และในบางรายถึงขนาดต้องเข้าโรงพยาบาล แต่ในบางคนยังมีการใช้คาเฟอีนในทางที่ผิดมากกว่าที่กล่าวมาอีกคือกินกาแฟก่อนที่จะเสพ lsd เพราะเชื่อว่าเมื่อเสพแล้ว จะทำให้เกิด trip ที่สนุกมากขึ้น และทำให้เกิดอารมณ์ดี
    จากการศึกษาเกี่ยวกับคาเฟอีน พบว่ามีเครื่องดื่มหลายอย่างที่มีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบอยู่
    เช่น ชา (tea), กาแฟ (coffee), เครื่องดื่ม soft drink บางชนิด,เม็ดกาแฟ ฯลฯ รวมทั้งยาบางชนิด ช็อกโกแลต และนอกจากนี้มีข้อมูลพบว่าในน้ำอัดลม จะมีปริมาณคาเฟอีนเป็นปริมาณไม่เท่ากัน (mg.) เมื่อวัดในปริมาณน้ำอัดลมกระป๋องขนาด 12 oz. เช่น
    diet pepsi มีปริมาณคาเฟอีน 35.4 mg.
    pepsi cola มีปริมาณคาเฟอีน 37.2 mg.
    coca-cola มีปริมาณคาเฟอีน 45.6 mg. เป็นต้น
    และจากข่าวยังกล่าวว่านอกจากส่วนผสมที่กล่าวมาแล้ว ยังใช้ยากันยุงชนิดขดซึ่งมีส่วนผสมของไพเรทิน ซึ่งมีฤทธิ์เบื้องต้นทำให้เกิดอาการมึนเมาผสมด้วย ซึ่งสูตรผสมดังกล่าวอาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้เสพได้ เนื่องจากพิษของไพเรทิน ซึ่งไม่ได้จัดเป็นอาหารหรือยา แต่จัดเป็นวัตถุมีพิษ และนอกจากนี้ยังมีส่วนผสมของคาเฟอีนเป็นจำนวนมาก จากน้ำอัดลมร่วมกับเครื่องดื่มชูกำลัง ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการใจสั่น ยิ่งถ้าผสมจำนวนคาเฟอีนในขนาดสูงมากๆ และผู้เสพมีสุขภาพไม่ดีอยู่แล้วอาจทำให้เกิดอาการใจสั่น และอาจเกิดอันตรายต่อผู้เสพได้ นอกจากนี้ยังมีคลอเฟนิรามีน ร่วมกับยากล่อมประสาทซึ่งเสริมฤทธิ์กัน ทำให้เกิดอาการมึนงง และง่วงนอนได้ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อการขับขี่ยานพาหนะ หรือใช้เครื่องจักรกลได้ และยาสูตรผสมนี้สามารถทำให้เกิดอาการเคลิ้มสุขได้ เนื่องจากการเสริมฤทธิ์กันระหว่างยากล่อมประสาท และคาเฟอีนจำนวนมาก ในน้ำอัดลมรวมทั้งเครื่องดื่มชูกำลัง ซึ่งส่วนผสมดังกล่าวไม่แน่นอน ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่ายาสูตรผสมดังกล่าว สามารถทำให้เกิดอาการมึนงง รวมทั้งเกิดอาการเคลิ้มสุขได้ แต่ไม่สามารถรับรองความปลอดภัยได้ เนื่องจากเหตุผลต่างๆที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
  • ต่อๆนะครับเกี่ยวกับยากันยุงครับ
    *********
    ********
    ******
    ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์และเป็นวัยที่ต้องการเรียนรู้

    ด.ญ.สาวิตรี หรือน้องเตย อยู่สมบูรณ์ หนูน้อยวัย 1 ขวบ 3 เดือน ชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา หยิบยากันยุงที่วางอยู่ภายในบ้านมารับประทาน

    ทำให้มีอาการสำลัก ตัวเขียว ตาเหลือก มีน้ำลายฟูมปาก หายใจไม่ออกและอาเจียน มีกลิ่นคล้ายน้ำมันและทินเนอร์ออกมา

    เคราะห์ดีที่เพื่อนบ้านเข้ามาพบ จึงรีบนำตัวส่งแพทย์และทำการล้างท้อง ทำให้สามารถช่วยชีวิตได้ทันเวลา แต่ตอนนี้ยังต้องนอนพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล เพื่อให้แพทย์รอดูอาการ

    กรณีนี้จึงถือเป็นอุทาหรณ์ ให้พ่อแม่และผู้ปกครองหันมาดูแลเอาใส่ใจบุตรหลาน

    สำหรับยากันยุง ในปัจจุบันมีทั้งที่ถูกสังเคราะห์จากสารเคมี และจากสมุนไพรทางธรรมชาติ อาทิ เปลือกส้ม น้ำมันจากต้นตะไคร้หอม ซึ่งมีสรรพคุณสามารถไล่ยุงได้เช่นกัน

    แต่ประชาชนส่วนใหญ่นิยมใช้ยากันยุงที่มาจากสารเคมี เนื่องจากหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาดทั่วไป

    ส่วนยากันยุงสมุนไพรธรรมชาติ ปัจจุบันยังไม่เป็นที่นิยมเท่าที่ควร

    ศ.น.พ.สมิง เก่าเจริญ ผู้อำนวยการศูนย์พิษวิทยา โรงพยาบาลรามาธิบดี เปิดเผยว่า สำหรับยากันยุงที่สังเคราะห์จากสารเคมี มี 2 ชนิด คือ แบบน้ำหรือสเปรย์ ซึ่งจะมีสาร Carbamate เป็นส่วนผสมหลัก

    สารชนิดนี้จะมีความเข้มข้นสูงมาก หากรับประทานเข้าไปอาจทำให้เสียชีวิตได้

    แบบที่ 2 คือ แบบแท่งหรือขด ซึ่งจะมีส่วนผสมของสารที่มีคุณสมบัติติดไฟ และสาร Pyrithroid ซึ่งเป็นสารที่ถูกผสมในยาฆ่าแมลง แต่สารชนิดนี้เมื่อนำมาผสม เพื่อผลิตเป็นยากันยุงจะใช้ในปริมาณและความเข้มข้นน้อยกว่า

    สำหรับฤทธิ์ของยากันยุง หากรับประทานเข้าไปในปริมาณไม่มาก จะมีการอาการคันและมีผื่นขึ้นตามร่างกาย มีอาการมึนงงและง่วงซึม เนื่องจากสารชนิดนี้จะไปกดทับสมอง ทำให้สมองสั่งงานช้าลง

    แต่หากรับประทานเข้าในปริมาณและมีความเข้มข้นสูง จะทำให้คนไข้มีอาการชัก ตาเหลือก น้ำลายฟูมปากและอาเจียน ซึ่งต้องรีบนำตัวส่งแพทย์อย่างเร่งด่วน เพื่อทำการล้างสารเคมีออกจากท้อง

    การปฐมพยาบาลผู้ที่รับประทานสารเคมีหรือยากันยุง ขั้นตอนแรกควรช่วยเหลือด้านระบบหายใจ โดยการนำคนไข้ไปในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก

    ที่สำคัญพยายามอย่าให้คนไข้อาเจียนอย่างเด็ดขาด

    เนื่องจากการอาเจียนจะทำให้สารเคมีกระจายไปทั่วร่างกายอย่างรวดเร็ว จากนั้นควรรีบนำตัวส่งแพทย์โดยด่วน

    ส่วนคนไข้ที่รับประทานยากันยุงเข้าไปนั้น ควรรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที เพื่อให้แพทย์ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์คีบออกจากร่างกาย จากนั้นแพทย์จะทำการล้างท้อง เพื่อลดการดูดซึมและการกระจายตัวของสารเคมี

    หลังจากนั้นแพทย์จะให้นอนพักรักษาตัว เพื่อรอดูอาการ เนื่องจากคนไข้ที่รับสารเคมี อาจเกิดภาวะโรคแทรกซ้อนได้ง่าย

    จากสถิติของศูนย์พิษวิทยา โรงพยาบาลรามาธิบดี พบว่า ที่ผ่านมามีเด็กรับประทานยากันยุงเข้าไปในร่างกายไม่มากนัก

    หากพบคนไข้ที่รับประทานสารเคมีหรือยากันยุงเข้าไป สามารถโทรศัพท์มาปรึกษาและสอบถามในกรณีฉุกเฉินที่หมายเลข 1367 และ 02-2011083 ซึ่งทางศูนย์พิษวิทยา

    จะมีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง
    ไฟล์แนบ
    7b8e96bbb4340beea40e6f23d3996ce2.jpg 13K
  • ต่อๆครับ
    ****************
    //*******
    ***
    การป้องกันและการกำจัดยุงลาย


    ป้องกัน หมายถึง กั้นไว้เพื่อต้านทานหรือคุ้มครอง (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525) ตรงกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษว่า prevent หมายถึง hinder or keep from doing or happening; do everything possible to avoid something happening ซึ่งคำว่า prevention (การป้องกัน) หมายถึง act or effect of preventing (The New American Webster Handy College Dictionary, 1981 และ Longman's Language Activator, 1993)
    กำจัด หมายถึง ขับไล่, ปราบ, ทำให้สิ้นไป (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525) ซึ่งตรงกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษว่า eliminate หมายถึง 1. Get rid of, remove. 2. Omit, ignore. 3. Expel, secrete. (The New American Webster Handy College Dictionary, 1981)
    การป้องกันและกำจัดยุงลายจึงหมายถึง การกั้นหรือต้านทานไว้ไม่ให้มียุงลายในบ้าน รวมทั้งการหลีกเลี่ยงการถูกยุงลายกัด และหากพบว่ามียุงลายในบ้านจะต้องทำการขับไล่หรือทำให้หมดสิ้นไป วิธีการป้องกันและกำจัดยุงลายมีหลายวิธี บางวิธีค่อนข้างสลับซับซ้อน ยุ่งยาก และเสียค่าใช้จ่ายสูง เช่น วิธีการทางพันธุศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นการทำหมันยุง การเปลี่ยนรูปยุงให้พิการไป หรือการใช้สารสกัดจากรังไข่ยุงทำให้ยุงไม่สามารถย่อยอาหารและเลือดได้ เป็นต้น ในเอกสารชุดนี้จะกล่าวถึงวิธีการป้องกันตนเองและผู้ใกล้ชิดไม่ให้ถูกยุงลายกัด และวิธีการในการกำจัดยุงลายตัวเต็มวัย เป็นวิธีที่ประชาชนสามารถกระทำได้ด้วยตนเอง ซึ่งมีอยู่หลายวิธีให้พิจารณาเลือกใช้ตามความเหมาะสมและตามทุนทรัพย์ที่มีอยู่
    1. การป้องกันไม่ให้ถูกยุงลายกัด
    หากทำได้..ควรกรุหน้าต่างประตูและช่องลมด้วยมุ้งลวด ตรวจตราซ่อมแซมฝาบ้าน ฝ้าเพดาน อย่าให้มีร่อง ช่องโหว่หรือรอยแตก เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ยุงลายเข้ามาอยู่และหลบซ่อนในบ้าน เวลาเข้า-ออกต้องใช้ผ้าปัดประตูมุ้งลวดก่อนเพื่อไล่ยุงลายที่อาจมาบินวนเวียนหาทางเข้ามาในบ้าน นอกจากนี้ควรเก็บสิ่งของในบ้านให้เป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ เสื้อผ้าที่สวมใส่แล้วควรเก็บซักทันทีหรือนำไปผึ่งแดด/ผึ่งลมภายนอกบ้าน เพราะหากมียุงลายเล็ดลอดเข้ามาอยู่ในบ้าน บริเวณที่จะเป็นแหล่งเกาะพักของยุงลายส่วนมาก คือ ราวพาดผ้า กองเสื้อผ้าที่มีกลิ่นเหงื่อไคล มุ้ง สายไฟ ตามมุมมืดของห้องและเครื่องเรือนต่างๆ แต่ถึงแม้ว่าบ้านทั้งหลังจะถูกกรุด้วยมุ้งลวดแล้วก็ตาม หากจะนอนพักผ่อนในเวลากลางวันก็ควรนอนในมุ้งตลอดเวลา การนั่งทำงาน นั่งเล่น ฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์อยู่ในบ้านก็ควรอยู่ในบริเวณที่มีลมพัดผ่านและมีแสงสว่างพอเพียง อาจใช้ยากันยุงหรือทาสารที่มีคุณสมบัติไล่ยุงซึ่งในปัจจุบันมีจำหน่ายตามร้านค้ามากมายหลายยี่ห้อด้วยกัน จำเป็นต้องเลือกซื้อและเลือกใช้ให้เหมาะสม ดังนั้น การป้องกันตนเองและผู้ใกล้ชิดไม่ให้ถูกยุงลายกัด อาจทำได้ดังนี้
    นอนในมุ้ง
    สวมใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว และควรใช้สีอ่อนๆ

    ในต่างประเทศเนื้อผ้าจะค่อนข้างหนาเพื่อป้องกันความหนาวเย็นได้ด้วย และอาจมีตาข่ายคลุมหน้าหากเข้าไปอยู่ในพื้นที่ที่มียุงและแมลงชุกชุมมากๆ สำหรับประเทศเขตร้อนสามารถใช้ผ้าเนื้อบางได้ ตัวเสื้อและกางเกงจะต้องไม่รัดรูปจึงจะสามารถลดหรือป้องกันยุงกัดได้ บริเวณที่เสื้อและกางเกงปกคลุมไม่ได้ ควรทาสารไล่ยุงหรือสารป้องกันยุงกัดร่วมด้วย
    ใช้สารไล่ยุง (Mosquito Repellents)

    สารไล่ยุงที่มีจำหน่ายส่วนใหญ่มีสารออกฤทธิ์จำพวก deet (N, N - Diethyl - m - toluamide) ในระดับความเข้มข้นต่างๆกันและมีหลายรูปแบบ เช่น ชนิดเป็นขด เป็นแผ่น เป็นครีม เป็นน้ำ ฯลฯ ซึ่งเหมาะสำหรับการใช้งานที่แตกต่างกันไป เช่น ใช้ทาผิว ใช้ชุบเสื้อผ้า ใช้ชุบวัสดุปูพื้น เป็นต้น
    3.1 สารไล่ยุงชนิดขด (mosquito coil), ชนิดแผ่น (mat) และชนิดน้ำ (liquid หรือ plug-in vaporising device) ต้องใช้ความร้อนช่วยในการระเหยสารออกฤทธิ์ จากการสำรวจตามร้านค้าในกรุงเทพมหานครพบว่าสารออกฤทธิ์หลัก (ขึ้นอยู่กับยี่ห้อและรูปแบบของสารไล่ยุง) ได้แก่
    d-allethrin 4.44% w/w
    pynamin forte 5% w/w
    pynamin forte 4% w/w
    esbiothrin 3% w/w
  • ขอยิงคำถามละครับ
    ---เราจะป้องกันสุนัข .สัตว์เลี้ยงของเราไม่ให้ยุงกัดได้อย่างไร หรือแม้กระทั่งคน ที่ไม่ให้เกิดอันตราย ( ไม่เอามุ้งนะครับ)เพราะหลายๆท่านคงไม่ได้ใช้มุ้งรวมถึงผมด้วย
    --- ยาจุดกันยุง มีพิษมากเพียงไร
    ครับผมจะถามเพียง 2 ข้อข้างต้นนั่นแหละครับ... กระทู้นี้ขอ อย่ามาเหน็บกันเลยนะครับ
  • ผมได้หาข้อมูล มากกว่าที่ผมโพสไปเยอะแยะเลยครับแต่ยังไม่สามารถสรุปเองที่เป็นที่แน่นอนได้ และก็ไม่ได้เอามาลงด้วยเนื่องจากมีข้อความยาวมากแกรงว่าจะขี้เกียดอ่านกันซะก่อน... ขอความเห็นชาว Pitbull ทีนะครับ เพื่อ Pitbull ที่น่ารักของทุกๆท่าน ช่วยกันหาข้อมูลทีคครับ...
  • ผมใช้แบบเสียบปลั๊กครับมีขายตามร้านค้าทั่วไปราคา90-150บาทครับ เลือกแบบธรรมชาติอะครับหรือแบบตะไคร้หอม
  • :013:ใครอ่านแล้ว สรุปไห้ผมด้วย เหนื่อยอ่าน:013:
  • ของกางมุ้งเอาอ่ะครับ
    มุ้งแบบ 6 ฟุต 99.- บาท
    จะได้นานและยาว ประหยัดดีด้วย
    แถมติดหลอดไฟไล่ยุงไว้เปิดก่อนกางมุ้งด้วยครับ
  • บ้านผมยุงเยอะ และดุมากๆ
    เกาะติด และไล่ไม่ยอมไป
    ยากันยุงเอาไม่อยู่
    ต้องใช้มุ้งอย่างเดียวครับ
  • ผมใช้พัดลมครับชัวสุด
  • ใช้สเปรย์กันยุงที่เป็นชีวภาพครับ ยี่ห้อTYRA-X หาซื้อได้ที่จตุจักรครับฉีดครั้งนึงอยู่ได้ประมาณ6วันครับ กันทั้งยุงและเห็บหมัดด้วยครับ